วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัยที่สนใจ

วิจัยเรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ของ พิจิตรา เกษประดิษฐ์



สรุปวิจัย
          การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ พบว่าทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบมีความสามารถด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกด้านสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ กิจกรรมที่ใช้ในการศึกษาวิจัยมีทั้งหมด 24 กิจกรรม ใช้เวลาในการทำกิจกรรม 8 สัปดาห์  จากการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ พบว่า เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง มีระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นทุกด้าน  ดังนี้
          1. ด้านการสังเกตและการจำแนก เด็กปฐมวัยมีระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนการทดลองอยู่ในระดับ พอใช้ แต่หลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับ ดี แสดงว่า ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบนั้น ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้การสังเกตและการจำแนก และได้ลงมือปฏิบัติกับอุปกรณ์และวัตถุดิบจริง โดยครูได้สอดแทรกทักษะการสังเกตและการจำแนกในกิจกรรม คุกกี้แฟนซี โดยการให้เด็กสังเกตผลไม้ที่ทำกิจกรรม และให้เด็กสังเกตวัตถุดิบที่นำมาเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง เช่น ในกิจกรรมคุกกี้แฟนซีมีสีที่เหมือนกัน คือ สีส้มของแยมและผลไม้ เด็กได้สังเกตว่า ส้มสามารถนำมาทำแยมได้ และสีก็เหมือนกัน

          2. ด้านการเปรียบเทียบ เด็กปฐมวัยมีระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนการทดลอง
อยู่ในระดับ พอใช้ คือ  แต่หลังการทดลองเด็กปฐมวัย มีระดับ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับ ดี  แสดงว่า ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบนั้น ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะ ด้านการเปรียบเทียบจากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม ตัวอย่างเช่น กิจกรรมขาไก่สร้างสรรค์ เด็กได้สังเกตขนมขาไก่ที่มีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในด้านขนาดและรูปทรงที่แตกต่างกัน 

          3. ด้านการจัดหมวดหมู่ เด็กปฐมวัยมีระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนการทดลอง
อยู่ในระดับ พอใช้ แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับ ดี  แสดงว่า การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ช่วยส่งเสริมในเรื่องการจัดหมวดหมู่ แสดงว่า ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบนั้น ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการจัดหมวดหมู่จากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม ตัวอย่างเช่น ในการจัดกิจกรรมพวงมาลัยหัวจุก เด็กได้เรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่จากกิจกรรมนี้ โดยการจัดหมวดหมู่ตามสี และลักษณะรูปทรงของขนม 


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 20 คน

กรอบแนวคิดของงานวิจัย

          
การประเมินผล
           1. สังเกตการทำกิจกรรมและการสนทนา
           2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทำกิจกรรม


ภาพการทำกิจกรรมในวิจัย




























0 ความคิดเห็น:

:a: :b: :c: :d: :e: :f: :g: :h: :i: :j: :k: :l: :m: :n:

แสดงความคิดเห็น