วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัยที่สนใจ

วิจัยเรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ของ พิจิตรา เกษประดิษฐ์



สรุปวิจัย
          การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ พบว่าทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบมีความสามารถด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกด้านสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ กิจกรรมที่ใช้ในการศึกษาวิจัยมีทั้งหมด 24 กิจกรรม ใช้เวลาในการทำกิจกรรม 8 สัปดาห์  จากการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ พบว่า เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง มีระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นทุกด้าน  ดังนี้
          1. ด้านการสังเกตและการจำแนก เด็กปฐมวัยมีระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนการทดลองอยู่ในระดับ พอใช้ แต่หลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับ ดี แสดงว่า ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบนั้น ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้การสังเกตและการจำแนก และได้ลงมือปฏิบัติกับอุปกรณ์และวัตถุดิบจริง โดยครูได้สอดแทรกทักษะการสังเกตและการจำแนกในกิจกรรม คุกกี้แฟนซี โดยการให้เด็กสังเกตผลไม้ที่ทำกิจกรรม และให้เด็กสังเกตวัตถุดิบที่นำมาเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง เช่น ในกิจกรรมคุกกี้แฟนซีมีสีที่เหมือนกัน คือ สีส้มของแยมและผลไม้ เด็กได้สังเกตว่า ส้มสามารถนำมาทำแยมได้ และสีก็เหมือนกัน

          2. ด้านการเปรียบเทียบ เด็กปฐมวัยมีระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนการทดลอง
อยู่ในระดับ พอใช้ คือ  แต่หลังการทดลองเด็กปฐมวัย มีระดับ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับ ดี  แสดงว่า ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบนั้น ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะ ด้านการเปรียบเทียบจากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม ตัวอย่างเช่น กิจกรรมขาไก่สร้างสรรค์ เด็กได้สังเกตขนมขาไก่ที่มีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในด้านขนาดและรูปทรงที่แตกต่างกัน 

          3. ด้านการจัดหมวดหมู่ เด็กปฐมวัยมีระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนการทดลอง
อยู่ในระดับ พอใช้ แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับ ดี  แสดงว่า การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ช่วยส่งเสริมในเรื่องการจัดหมวดหมู่ แสดงว่า ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบนั้น ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการจัดหมวดหมู่จากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม ตัวอย่างเช่น ในการจัดกิจกรรมพวงมาลัยหัวจุก เด็กได้เรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่จากกิจกรรมนี้ โดยการจัดหมวดหมู่ตามสี และลักษณะรูปทรงของขนม 


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 20 คน

กรอบแนวคิดของงานวิจัย

          
การประเมินผล
           1. สังเกตการทำกิจกรรมและการสนทนา
           2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทำกิจกรรม


ภาพการทำกิจกรรมในวิจัย




























บันทึกครั้งที่ 16

วันอังคาร ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2556
การเรียนการสอนวันนี้
          - อาจารย์แจ้ง วันเวลา ในการทำกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

          - อาจารย์ได้สรุปคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในทุกๆรายวิชาที่ได้เรียนมา (ภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์)
          - ให้นักศึกษาแต่ละคนสรุปในสิ่งที่ตนได้รับจากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก

งานที่ได้รับมอบหมาย
          - สรุปงานวิจัยที่ตนสนใจลงในบล็อกเกอร์ โดยห้ามซ้ำกัน และให้นักศึกษาทำบล็อกเกอร์ให้เรียนร้อย

บันทึกครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556
 

สอบสอน
                    - หน่วยกล้วย
                    - หน่วยข้าวโพด (กลุ่มข้พเจ้า) 

 สอบสอนหน่วยข้าวโพด  เรื่อง ประโยชน์ของข้าวโพด

สรุปสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ปฐมวัย

บันทึกครั้งที่ 14


วันอังคาร ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556
การเรียนการสอนในวันนี้
          - สอบสอน 2 กลุ่ม 
                หน่วยไข่
                หน่วยส้ม

งานที่ได้รับมอบหมาย 
          สรุปงานวิจัยที่สนใจ และสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดคณิตศาตร์ปฐมวัย ลงในบล็อกเกอร์ 

บันทึกครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 29 มกราคม 2556
การเรียนการสอนในวันนี้

         - วันนี้เรียนรวมกันทั้งสองกลุ่ม เนื่องจากอาจารย์นัดเพื่อที่จะประชุมเรื่องการจัดกิจกรรมการประกวดแสดงความสามารถ โดยจะเลือดตัวแทนของปี 3 สรูปได้ดังนี้
 
       1. รำ (เชิญพระขวัญ)  =  สว่างจิตร
       2. ร้องเพลง (หนูไม่รู้) =  รัตติยา 
       3. โฆษณา  = นิศาชล/ละมัย
       4. พิธีกร  = ลูกหยี/ซาร่า
       5. การแสดงโชว์  (ลิปซิงค์เพลง) =  จุฑามาศ/นีรชา
                              (เต้นประกอบเพลง)  = พลอยปภัส/เกตุวดี/มาลินี
                              (ละครใบ้)  = ลูกหมี/จันทร์สุดา
                              (ตลก)  = ณัฐชา/ชวนชม/ดาราวรรณ
    
       6. ผู้กำกับหน้าม้า  = พวงทอง/นฏา (ทำป้าย ตบมือ หัวเราะ)
       7. หน้าม้า  = ทั้งหมดที่เหลือ  

การบูรณาการณ์ อะไรเป็นคณิตศาสตร์
       1. การนับ
       2. ช่วงเวลาของการแสดงโชว์แต่ละการแสดง
       3. ทิศทาง การเดินขึ้นลงเวที ทิศทางของผู้ชม และทิศทางของเวทีการแสดง
       4. พีชคณิต 
       5. หารหาค่าทางสติถิ
       6. เศษส่วน
       7. การใช้ตัวเลขฮินดูอาราบิกแทนค่าจำนวน

บันทึกครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 22 มกราคม 2556
 การเรียนการสอนในวันนี้ 
             
           - ส่งสื่อ ที่ได้รับมอบหมายให้ทำ



           - อาจารย์ให้คำแนะนำในแต่ละหัวข้อที่จะสอบสอน โดยอาจารย์จะอธิบายที่ละหัวข้อว่าจะต้องมีอะไรบ้างในการสอน และในการสอบสอนครั้งนี้ให้ใช้สื่อภาพ ไม่จำเป็นต้องเป็นศื้อของจริง



วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556
การเรียนการสอนในวันนี้

          - ส่งฝาขวดน้ำ

บูรณาการกับคณิตศาสตร์ โดยมีสาระทางคณิคศาสตร์
     1. จำนวนและการดำเนินการ : การนับจำนวนทั้งหมด แล้วแทนค่าด้วยตัวเลขฮินดูอาราบิด
     2. การวัด : การเปรียบเทียบ ความยาวของฝาขวดน้ำที่วางต่อๆกัน กันวัดน้ำหนักของฝาขวดน้ำ โดยอาศัยเครื่องมือวัดน้ำหนัด
     3. เรขาคณิต  : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง รู้จักจำแนกรู้เรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
     4. พีชคณิต : เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์
     5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความหน้าจะเป็น : การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิง่ายๆ
     6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
             
*งานที่มอบหมาย
           -จับกลุ่ม 8-9 คนให้ทำกราฟ และบรอดข้อมูล กลุ่มละ 1 ชิ้น (ทำบรอดข้อมูล)